1.

ถาม 

กำหนดการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคเรียน

 

ตอบ 

1.    ลงทะเบียนปกติตามกลุ่มของตัวเอง (ออนไลน์) ก่อนเปิดภาคเรียน 2 สัปดาห์
2.   ลงทะเบียนเพิ่ม-ถอนรายวิชา (ออนไลน์) ก่อนเปิดภาคเรียน 1 สัปดาห์
3.   ลงทะเบียนเพิ่ม-ถอนรายวิชากรณีพิเศษ (นิสิตต้องดำเนินการด้วยตนเองที่คณะ/งานทะเบียน -
มีค่าธรรมเนียมเพิ่มกรณีพิเศษ หน่วยกิตละ 100 บาท) ภายในสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียน

4.   การชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา 60 วัน นับจากวันสุดท้ายของการลงทะเบียนเพิ่ม - ถอนรายวิชา
กรณีพิเศษ

 

2.

ถาม 

การชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา (ค่าเทอม) 

 

ตอบ 

1.   นิสิตสามารถเลือกชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาได้ 2 แบบ คือ

1.1   ชำระเต็มจำนวน ผ่าน bill payment โดยชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดภายใน 60 วัน (2 เดือน) นับจากวันสุดท้ายของการลงทะเบียน เพิ่ม-ถอนรายวิชากรณีพิเศษ
1.2  แบ่งชำระเป็น 2 งวด ผ่าน bill payment
1.2.1    งวดที่ 1 ชำระภายใน 30 วัน นับจากวันชำระค่าเทอมวันแรก
1.2.2   งวดที่ 2 ชำระภายใน 30 วัน นับจากวันสุดท้ายของกำหนดวันชำระเงินงวดที่ 1

2.   กรณีที่นิสิตไม่ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาภายในวันที่กำหนด สามารถติดต่อขอชำระได้ที่ฝ่ายคลังฯ
โดยมีค่าปรับวันละ 20 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,500 บาท
*ทั้งนี้ต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่มหาวิทยาลัยกำหนด หากพ้นกำหนดแล้วนิสิตต้องดำเนินการรักษาสภาพการเป็นนิสิต

 

3.

ถาม 

การโอนรายวิชาที่เคยเรียนมาจากมหาวิทยาลัยอื่น/มหาวิทยาลัยทักษิณ/ระบบ Tsu For All  สามารถทำได้ไหม/ทำอย่างไร

 

ตอบ 

รายวิชาที่จะขอโอน ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1.     ได้ระดับขั้นไม่ต่ำกว่า C
2.    ดำเนินการเทียบรายวิชาก่อนขอโอนรายวิชา (กรณีวิชาได้รับการเทียบแล้ว สามารถขอโอนรายวิชาได้เลย)
3.    ค่าธรรมเนียมการโอนรายวิชาหน่วยกิตละ 100 บาท
4.    ไม่นำผลการเรียนรายวิชาที่โอนมาคำนวณค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสม
5.    ระบุรายวิชาที่โอนในระเบียนนิสิตว่าเป็นรายวิชาที่รับโอนมา

 1.     การโอนรายวิชาจากการศึกษาในระบบ
       1.1    นิสิตยื่นคำร้องขอโอนรายวิชาต่องานทะเบียนนิสิต
       1.2   งานทะเบียนนิสิตตรวจสอบรายวิชาที่นิสิตขอโอนรายวิชา ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ในข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี/ระดับบัณฑิตศึกษาพ.ศ. 2566 เรื่อง การเทียบรายวิชา และการโอนรายวิชา
       1.3   
หัวหน้าส่วนงานวิชาการพิจารณาให้ความเห็นชอบ
       1.4   รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ
       1.5   นิสิตชำระค่าธรรมเนียมการโอนรายวิชา หน่วยกิตละ 100 บาท
       1.6   งานทะเบียนนิสิตบันทึกรายวิชาที่ขอโอนเข้าสู่ระบบงานทะเบียนนิสิต
       1.7   นิสิตต้องดำเนินการขอโอนรายวิชาให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษาแรกที่นิสิตเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย

2.    การโอนรายวิชาจากการศึกษานอกระบบ
       2.1    นิสิต/ผู้เรียนยื่นคำร้องขอโอนรายวิชา และชำระเงินค่าธรรมเนียมการโอนรายวิชา
หน่วยกิตละ 100 บาท
       2.2   
งานทะเบียนนิสิตประกาศรายชื่อผู้ขอโอนรายวิชา
       2.3   นิสิต/ผู้เรียนตรวจสอบรายชื่อผู้ขอโอนรายวิชาได้ที่ระบบงานทะเบียนนิสิตหลังจากยื่นคำร้องภายใน 1 สัปดาห์
       2.4   งานทะเบียนนิสิตบันทึกผลการเรียนเข้าสู่ระบบงานทะเบียนนิสิต
       2.5    นิสิต/ผู้เรียนตรวจสอบข้อมูลการโอนรายวิชาในระบบทะเบียนนิสิต ดังนี้
              2.5.1   ตรวจสอบรายวิชาที่โอนได้ที่ เมนู : ผลการศึกษา

              2.5.2  ตรวจสอบรายวิชาที่โอนและโครงสร้างหลักสูตรได้ที่ เมนู : ตรวจสอบจบ
              2.5.3  ตรวจสอบใบเสร็จค่าธรรมเนียมการโอนรายวิชาได้ที่ เมนู : รายการใบเสร็จ

     

 

4.

ถาม 

การถอนรายวิชา (ติด W) สามารถทำได้อย่างไร

 

ตอบ 

1.     นิสิตดำเนินการถอนรายวิชาด้วยตนเองผ่านระบบงานทะเบียนนิสิต
2.    ต้องถอนรายวิชาอย่างน้อย 7 วันทำการก่อนวันแรกของการสอบปลายภาค
3.    รายวิชาที่ถอนจะปรากฏสัญลักษณ์ W ในใบแสดงผลการเรียน

 

5

ถาม 

 ติด F ต้องทำอย่างไร

 

ตอบ 

1.     นิสิตลงทะเบียนเรียนซ้ำในรายวิชาเดิมที่ได้ค่าระดับขั้น F
2.    เลือกเรียนรายวิชาอื่นในหมวดวิชาเดียวกันแทนได้ โดยต้องเป็นรายวิชาที่มีหน่วยกิตเท่ากับ หรือมากกว่ารายวิชาที่ได้ค่าระดับขั้น F
3.    ได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา คณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรประธานสาขาวิชา
4.    ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนงานวิชาการที่นิสิตสังกัดก่อนลงทะเบียนเรียน

 

6

ถาม 

การขอขยายหน่วยกิต

 

ตอบ 

1.     ในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ลงทะเบียนได้ไม่เกิน 22 หน่วยกิต ภาคเรียนฤดูร้อนไม่เกิน
9 หน่วยกิต

2.    นิสิตสามารถขอขยายหน่วยกิตได้ ในกรณี ภาคเรียนที่ลงทะเบียนรายวิชาฝึกงาน ฝึกงานภาคสนาม สหกิจศึกษา การโอนหน่วยกิตจากระบบคลังหน่วยกิตและในภาคเรียนที่จะสำเร็จการศึกษา
3.    ยื่นคำร้องขอลงทะเบียนเรียนมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4.    ได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าภาควิชาหรือประธานสาขาวิชา
5.    ได้รับอนุมัติจากรองอธิการบดีที่ได้รับมอบหมาย

 

7

ถาม 

การจำแนกสภาพนิสิต พ้นสภาพนิสิต คืนสภาพ

 

ตอบ 

การจำแนกสภาพนิสิต

1.     สำหรับนิสิตที่เข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2566
     1.     กำลังศึกษา (ปกติ) คือ นิสิตที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 1.80
     2.    กำลังศึกษา (รอพินิจ) คือ นิสิตที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 1.50 ถึง 1.79 ต่อเนื่องกันเป็นเวลาไม่เกิน 4 ภาคเรียนที่มีการจำแนกสภาพ

2.    สำหรับนิสิตที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป
     1​​​​​​​.     กำลังศึกษา (ปกติ) คือ นิสิตที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
​​​​​​​     2.    กำลังศึกษา (รอพินิจ) คือ นิสิตที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 1.50 ถึง 1.99 ต่อเนื่องกันเป็นเวลาไม่เกิน 4 ภาคเรียนที่มีการจำแนกสภาพ

การพ้นสภาพนิสิต
นิสิตจะพ้นสภาพในกรณีต่อไปนี้
1.     สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและได้รับอนุมัติให้ปริญญา
2.    ได้รับอนุมัติให้ลาออก
3.    ถูกคัดชื่อออกจากมหาวิทยาลัย ในกรณีดังต่อไปนี้
​​​​​​​     3.1    ไม่รายงานตัวเป็นนิสิตตามวันที่มหาวิทยาลัยกำหนด
​​​​​​​     3.2   มารายงานตัวเป็นนิสิตแต่ไม่ลงทะเบียนเรียน ไม่ชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาในภาคเรียนแรก
​​​​​​​     3.3   เมื่อพ้นกำหนดเวลา 1 ภาคเรียนแล้วไม่ชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาเพื่อรักษาสภาพนิสิตหรือลาพักการเรียน
​​​​​​​     3.4   เมื่อระยะเวลาการศึกษาครบ 8 ปีการศึกษาสำหรับหลักสูตร 4 ปี หรือ 10 ปีการศึกษาสำหรับหลักสูตร 5 ปี หรือ 12 ปีการศึกษาสำหรับหลักสูตรไม่น้อยกว่า 6 ปี แล้วยังมีจำนวนหน่วยกิตสอบได้ไม่ครบตรงตามหลักสูตร หรือได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.00
​​​​​​​     3.5   ขาดคุณวุฒิหรือคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
​​​​​​​     3.6   ค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมทุกภาคเรียนต่ำกว่า 1.50
​​​​​​​     3.7   ค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.00 เป็นเวลา 4 ภาคเรียนต่อเนื่องกัน เมื่อสิ้นสุดการจำแนกในครั้งที่ 4
​​​​​​​     3.8   ถูกลงโทษถึงที่สุดให้ไล่ออกตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยวินัยนิสิต

การคืนสภาพ
​​​​​​​1.     นิสิตอาจได้รับการอนุมัติให้คืนสภาพนิสิตจากอธิการบดี
2.    ต้องชำระเงินค่าคืนสภาพนิสิตตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ภายใน 60 วัน นับจากวันประกาศพ้นสภาพ เนื่องจากพ้นสภาพนิสิต จากกรณีต่อไปนี้
​​​​​​​     2.1   ได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนงานวิชาการที่นิสิตสังกัดให้ลาออกไปแล้วไม่เกิน 60 วัน
​​​​​​​     2.2   เมื่อพ้นกำหนดเวลาหนึ่งภาคเรียนแล้วไม่ชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาเพื่อรักษาสภาพนิสิต